เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ถีนมิทฺธํ ได้แก่ ถีนะ และมิทธะ ใน 2 อย่างนั้น ภาวะ
ที่จิตไม่ควรแก่การงานชื่อว่า ถีนะ คำว่า ถีนะ นี้ เป็นชื่อของความเกียจ
คร้าน. ภาวะที่ขันธ์ทั้ง 3 ไม่ควรแก่การงาน ชื่อว่า มิทธะ. คำว่า
มิทธะ นี้ เป็นชื่อของความโงกง่วง ดุจความโงกง่วงของลิง เป็น
ธรรมชาติกลับกลอก. พึงทราบความพิสดารแห่งถีนะและมิทธะ
ทั้ง 2 นั้น โดยนัยเป็นต้นว่า ในถีนะและมิทธะทั้ง 2 นั้น ถีนะ
เป็นไฉน ? ภาวะที่จิตไม่เหมาะไม่ควรแก่การงาน หย่อนยาน ท้อแท้
ชื่อว่า ถีนะ ในถีนะและมิทธะทั้ง 2 นั้น มิทธะเป็นไฉน ? ภาวะที่กาย
ไม่เหมาะ ไม่ควรแก่การงาน โงกง่วง ชื่อว่า มิทธะ

บทว่า อรติ เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่จำแนกไว้แล้วในวิภังค์
นั่นแล สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น อรติ
เป็นไฉน ? ความไม่ยินดี ภาวะที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง ความไม่
อภิรมย์ ความเอือมระอา ความหวาด ในเสนาสนะอันสงัด หรือ
ในอธิกุศลธรรมอย่างอื่น ๆ นี้เรียกว่า อรติ บรรดาธรรมเหล่านั้น
ตนฺทิ ความเกียจคร้านเป็นไฉน ? ความเกียจ ความคร้าน ความ
ใส่ใจในความคร้าน ความเกียจคร้าน กิริยาที่เกียจคร้าน ภาวะแห่ง
ผู้เกียจคร้าน นี้ท่านเรียกว่า ตันทิ บรรดาธรรมเหล่านั้น ความบิด-
กายเป็นไฉน ? ความบิด ความเอี้ยว ความน้อมไป ความโน้มมาค้อมไป
ค้อมมา ความบิดเบี้ยว นี้ เรียกว่า วิชัมภิกา. บรรดาธรรมเหล่านั้น

ความเมาอาหาร เป็นไฉน ? ผู้มักบริโภค มึนในอาหาร ลำบากใน
อาหาร อ่อนเปลี้ยในกาล นี้เรียกว่า ความเมาในอาหาร. บรรดา
ธรรมเหล่านั้น ความที่จิตหดหู่เป็นไฉน ? ภาวะที่จิตไม่เหมาะ ไม่
ควรแก่การงาน ความย่อหย่อน ความย่นย่อ ความท้อแท้ ความ
ท้อถอย ภาวะท้อแท้แห่งจิตนี้ เรียกว่า ความท้อแท้แห่งจิต ก็บรรดา
ธรรมเหล่านี้ ธรรม 4 ข้างต้น เป็นปัจจัยแก่ถีนมิทธนิวรณ์ ทั้ง
โดยสหชาตปัจจัย ทั้งโดยอุปนิสสยปัจจัย อนึ่งภาวะที่ย่อหย่อน
ย่อมไม่เป็นสหชาติปัจจัยโดยตนของตนเอง แต่ย่อมเป็นสหชาตปัจจัย
ในที่สุดแห่งอุปนิสสยปัจจัย.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 4

อรรถกถาสูตรที่ 4



ในสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุทฺธจฺจกุกฺกุจจํ ได้แก่ อุทธัจจะ และกุกกุจจะ. ใน 2
อย่างนั้น อาการที่จิตฟุ้งซ่าน ชื่อว่า อุทธัจจะ ความเดือดร้อน
ของบุคคลผู้ไม่ได้กระทำคุณความดี ทำแต่ความชั่ว เพราะข้อนั้น
เป็นปัจจัย ชื่อว่า กุกกุจจะ บทว่า เจตโส อวูปสโม นี้ เป็นชื่อของ
อุทธัจจะ และกุกกุจจะ นั่นเอง. บทว่า อวูปสนฺตจิตฺตสฺส ได้แก่ผู้มีจิต
ไม่สงบด้วยฌานและวิปัสสนา ก็ความไม่สงบนี้ เป็นปัจจัยแก่อุทธัจจะ
และกุกกุจจะ ในที่สุดแห่งอุปนิสสยปัจจัย.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 4